โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเสื่อม มีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะเกิดการกระแทกหรือการบาดเจ็บเล็กน้อยก็ตาม
ในผู้ป่วยบางรายภาวะกระดูกพรุนมีผลทำให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน โรคนี้อาจไม่แสดงอาการชัดเจนในช่วงแรก แต่ในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการปวดกระดูก และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะที่กระดูกสันหลัง สะโพก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง
โรคกระดูกพรุนมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงซึ่งมีผลต่อการควบคุมการสร้างและการสลายกระดูก
โรคกระดูกพรุนเป็นผลมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของร่างกาย การขาดสารอาหารที่จำเป็น พฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัจจัยทางพันธุกรรม ถึงแม้ว่าโรคนี้จะพบได้มากในผู้สูงอายุ แต่การดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังเด็ก เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคตได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
- ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
- อายุ
เป็นการลดลงของมวลกระดูกตามวัย เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น การสร้างเนื้อเยื่อกระดูกจะลดลง ขณะที่การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง กระดูกบางและอ่อนแอลง
- เพศ
ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย ลง โดยเฉพาะหลังจากวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงจะมีผลต่อความสามารถในการเก็บแคลเซียมและสร้างมวลกระดูกใหม่
- ประวัติครอบครัว
หากมีประวัติในครอบครัวที่เป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักง่าย จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น
- เชื้อชาติ
พบว่าชาวผิวขาวมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าชนผิวดำ ส่วนชาวเอเชีย จะเก็บสะสมเนื้อกระดูกได้มากกว่าชาวผิวขาวแต่น้อยกว่าชาวผิวดำ
- ปัจจัยทางพฤติกรรมและการใช้ชีวิต
- อาหาร
การขาดแคลเซียมและวิตามินดีในอาหารเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ เพราะแคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างและรักษามวลกระดูก นอกจากนี้วิตามินดียังมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูดซึมแคลเซียมจากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด หากมีภาวะขาดวิตามินดี ก็จะส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ดังนั้น หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในอาหาร หรือร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดี จะทำให้มวลกระดูกลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนนอก จากนี้การบริโภคเกลือและคาเฟอีนมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมผ่านทางปัสสาวะมากขึ้น
- การออกกำลังกาย
การขาดการออกกำลังกายหรือไม่มีกิจกรรมทางกายภาพที่เพียงพอจะทำให้การสร้างเนื้อเยื่อกระดูกน้อยลง การออกกำลังกายที่ใช้แรงกดบนกระดูก เช่น การเดินหรือวิ่งเบาๆ ก็จะเป็นการช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกได้
- การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปยังเป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกสูญเสียมวลและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนอีกด้วย และการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปยังทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงอีกด้วย
- น้ำหนักตัว
คนที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอมมากจะมีความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากกระดูกไม่ได้รับแรงกดที่เพียงพอเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง
- ปัจจัยทางสุขภาพและโรคประจำตัว
- โรคเรื้อรัง
โรคบางโรคหรือภาวะทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคไทรอยด์ ภาวะขาดอาหาร และโรคที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ เช่น โรคเซลิแอค (Celiac disease) สามารถส่งผลให้การสร้างกระดูกผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้
- การใช้ยา
ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด ยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์ และยาที่ใช้ในการรักษาภาวะขาดฮอร์โมนในผู้หญิง อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างและสลายของกระดูก ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกและทำให้กระดูกอ่อนแอลงได้
- ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการสร้างและสลายของกระดูก เช่น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ที่ควบคุมระดับแคลเซียมในกระดูก และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต หากมีความผิดปกติในฮอร์โมนเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้ รวมถึงการขาดฮอร์โมนเพศก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการสูญเสียมวลกระดูกได้เช่นกัน
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- การรับสารเคมีหรือโลหะหนัก
การได้รับสารเคมีบางชนิด หรือโลหะหนัก เช่น แคดเมียม หรือฟลูออไรด์ในปริมาณสูงเป็นระยะเวลานาน อาจมีผลเสียต่อความแข็งแรงของกระดูก
- ปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์
- ความเครียดและภาวะซึมเศร้า
ความเครียดเรื้อรังและภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อฮอร์โมนและการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้การสร้างเนื้อเยื่อกระดูกลดลง
แม้ว่าบางปัจจัยเสี่ยงไม่สามารถควบคุมได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่กระดูกของร่างกายเสื่อมสภาพและมีความแข็งแรงลดลง จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย แม้ว่าจะเกิดการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุโดยเฉพาะในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงซึ่งเป็นตัวสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกระดูก
อาการและสัญญาณของโรคกระดูกพรุน
- กระดูกหักง่าย
ผู้ที่มีโรคกระดูกพรุนอาจเกิดกระดูกหักจากการหกล้มหรือแม้แต่การกระแทกเล็กน้อย บริเวณที่มักพบการหักบ่อยๆ ได้แก่ กระดูกสะโพก ข้อมือ และกระดูกสันหลัง
- ปวดหลังเรื้อรัง
กระดูกสันหลังอาจเกิดการยุบตัวลง ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังและรุนแรง อาจมีอาการปวดบริเวณกลางหลังหรือส่วนล่างของหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการกดทับเส้นประสาทจากกระดูกสันหลังที่ยุบตัวลง
- ความสูงลดลง
เมื่อกระดูกสันหลังยุบตัวลง ความสูงของผู้ป่วยจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ อาจพบว่าหลังของผู้ป่วยโค้งงอมากขึ้นเป็นรูปตัว “C” (kyphosis) ทำให้มีท่าทางโค้งงอไปข้างหน้า
- ท่าทางเปลี่ยนไป
จากการที่กระดูกสันหลังยุบตัวและเกิดความไม่สมดุล อาจทำให้เกิดท่าทางที่ไม่ปกติ เช่น หลังโค้งงอ ไหล่หด และลำตัวมีลักษณะโค้งไปข้างหน้า
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
กล้ามเนื้อรอบ ๆ กระดูกที่เกิดการหักหรือยุบตัว อาจสูญเสียความแข็งแรง ทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่กระดูกของร่างกายเสื่อมสภาพและมีความแข็งแรงลดลง จนทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย แม้ว่าจะเกิดการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็ตาม โรคนี้มักเกิดขึ้นในวัยสูงอายุโดยเฉพาะในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงซึ่งเป็นตัวสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกระดูก
- การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี
แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก แนะนำให้ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจากอาหาร เช่น นม โยเกิร์ต ชีส ถั่ว และผักใบเขียว
วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น แหล่งที่มาของวิตามินดีที่สำคัญคือแสงแดด นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ไข่แดง และน้ำมันตับปลา
- การออกกำลังกายที่เน้นการรับน้ำหนัก
การออกกำลังกายที่เน้นการรับน้ำหนัก เช่น การเดิน การวิ่งจ๊อกกิ้ง และการยกน้ำหนัก ช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกและรักษาความแข็งแรงของกระดูก
- การรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน น้ำหนักตัวที่น้อยเกินไปอาจทำให้กระดูกบางลง ส่วนการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มแรงกดบนกระดูก
- การเลิกบุหรี่และการลดการดื่มแอลกอฮอล์
การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดสามารถทำให้กระดูกอ่อนแอลงได้ การเลิกบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอดีจึงเป็นอีกวิธีในการป้องกันโรคกระดูกพรุน
- การประเมินความเสี่ยง
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เช่น ประวัติครอบครัว การใช้ยาบางชนิด การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว ควรได้รับการตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density - BMD) เพื่อประเมินความเสี่ยงอยู่เสมอ
การป้องกันและการรักษาโรคกระดูกพรุนต้องทำร่วมกัน ทั้งการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การรักษาน้ำหนักตัวที่พอดี และการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและช่วยรักษาคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เซซามิน เป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากเมล็ดงาดำ (Sesamum indicum) ซึ่งมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการป้องกันโรคกระดูกพรุน จากการศึกษาวิจัยพบว่า เซซามินมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่และยับยั้งการทำลายกระดูกเก่า โดยผ่านกระบวนการหลายอย่าง เช่น
- การกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก
เซซามินมีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนเซลล์สร้างกระดูก ซึ่งมีบทบาทในการผลิตแคลเซียมฟอสเฟตและสารประกอบอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของกระดูก ช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรงและลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน
- การยับยั้งการสลายเซลล์กระดูก
เซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูกเก่ามีบทบาทสำคัญในการทำให้กระดูกบางลง การศึกษาพบว่าเซซามินสามารถยับยั้งการทำงานของเซลล์สลายกระดูกได้ ทำให้กระดูกไม่บางลงเร็วเกินไป
- การต้านอนุมูลอิสระ
เซซามินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดการอักเสบและป้องกันการเกิดความเสียหายของเซลล์ในร่างกาย การอักเสบและอนุมูลอิสระมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกระดูกพรุน เพราะทำให้กระบวนการสลายกระดูกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
- การส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม
เซซามินมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่ได้รับอย่างเพียงพอ
จากการศึกษาพลว่าเซซามินสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีภาวะขาดแคลเซียม นอกจากนี้ การบริโภคเซซามินควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงมากขึ้น